วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

จงอธิบายและตอบคำถามต่อไปนี้ โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายโพสต์ในบล็อก

1. Data, Information, Knowledge และ Wisdom มีความเกี่ยวข้องสัมพันกันอย่างไร?

2. จงอธิบายความหมายของคำว่า "ระบบสารสนเทศ (Information System)" พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

3. คำว่า "Organization", "Technology" และ "Management" มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศอย่างไร?

4. จงเปรียบเทียบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) และระบบสารสนเทศ (Information System: IS) ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?

5. การจำแนกประเภทของระบบสารสนเทศ มีอยู่กี่แบบ และแต่ละแบบประกอบด้วยระบบสารสนเทศชนิดใดบ้าง จงอธิบายมาอย่างละเอียด

หมายเหตุ: ขอให้ระบุแหล่งข้อมูลอ้างอิง หรือบรรณานุกรมในตอนท้ายด้วย

7 ความคิดเห็น:

  1. 1. Data,Information,Knowledge และ Wisdom มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร ?
    ข้อมูล ข่าวสาร และ สารสนเทศ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานทั้งของภาครัฐและเอกชน ข้อมูลและสารสนเทศเป็นทรัพยากรหลักที่ทุกองค์กรให้ความสำคัญ เนื่องมาจากการดำเนินงานทางธุรกิจมีความซับซ้อนมากขึ้นและมีการแข่งขันกันสูง ทำให้ข่าวสารเป็นสิ่งที่ทุกคนจำเป็นต้องรับทราบและเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว


    พีระมิดความรู้( Knowledge pyramid ) เป็นเครื่องมือที่จะทำให้เข้าใจในความแตกต่างระหว่าง
    Data , Information, Knowledge และ Wisdom รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างกัน
    1.1 Data ( ข้อมูล ) คือ ข้อเท็จจริงที่ยังไม่มีการปรุงแต่งหรือประมวลผลใดๆ อาจแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
    1. ข้อเท็จจริงที่เป็นจำนวน ปริมาณ ระยะทาง
    2. ข้อเท็จจริงที่ไม่เป็นตัวเลข เช่น ชื่อ ที่อยู่ ประวัติการศึกษา
    3. ข่าวสารที่ยังไม่ประเมิน เช่น รายงาน บันทึก คำสั่ง ระเบียบ กฎหมาย และเหตุการณ์หรือสภาพการณ์ต่างๆ
    1.2 Information ( สารสนเทศ ) คือ ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่างๆ ที่ได้รับการสรุป คำนวณ จัดเรียง หรือ ประมวลแล้วจากข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ จนได้เป็นข้อสรุป เพื่อนำมาเผยแพร่และใช้ประโยชน์ในงานด้านต่าง ๆ
    1.3 Knowledge ( ความรู้ ) คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือ ประสบการณ์ เป็นความรู้ที่ถูกพัฒนาขึ้นอีกระดับหนึ่ง เป็นความรู้ที่ได้ศึกษาจากสารสนเทศ จนเป็นความรู้ของตัวเอง รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติหรือทักษะความเข้าใจ

    ความรู้ แบ่งเป็น 2 ประเภท
    1. ความรู้ฝังลึก ( tacit knowledge) คือ ความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ การลงมือปฏิบัติ หรือเป็นพรสวรรค์ของตนเองที่มีอยู่ สิ่งเหล่านี้จัดเป็นความรู้ชนิดที่ยากต่อการถ่ายทอด หรือสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ
    2. ความรู้ชัดแจ้ง ( explicit knowledge) คือ ความรู้ที่สามารถถ่ายทอด หรือสื่อสารให้ ผู้อื่นเข้าใจได้ ความรู้ประเภทนี้ คือ ความรู้ที่ถูกเขียนออกมาเป็นตำรา เป็นคู่มือ หรือเอกสารต่างๆ
    1.4 Wisdom (ความฉลาดหรือสติปัญญา) คือ การรวบรวมความรู้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ เข้ากับ
    ประสบการณ์และเหตุผลกลายเป็นภูมิปัญญา



    ตอบลบ
  2. เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT)
    เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ
    Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย
    1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
    2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น

    สรุป
    เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ ประมวลผล และเผยแพร่ผ่านทางสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีคมนาคม

    ตอบลบ
  3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
    ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) (MIS) เป็นระบบเกี่ยวกับการจัด หาคน หรือข้อมูลที่สัมพันธ์กับข้อมูล เพื่อการดำเนินงานขององค์การ เช่น การใช้ MIS เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมของลูกจ้าง เจ้าของกิจการ ลูกค้า และบุคคลอื่นที่เจ้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การ การประมวลผลของข้อมูลจะช่วยแบ่งภาระการ ทำงานและยังสามารถนำ สารสนเทศมา ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือ MIS เป็นระบบซึ่งรวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานการจัดการ และการตัดสินใจในองค์การ หรือ MIS หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล การ ประมวลผล และการสร้างสารสนเทศขึ้นมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุม นอกจากนั้นยังช่วยผู้บริหาร และ พนักงานในการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดย MIS จะต้องใช้อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ (Hardware) และ โปรแกรม (Software) ร่วมกับผู้ใช้ (Peopleware) เพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จในการได้มาซึ่งสารสนเทศที่มีประโยชน์

    ตอบลบ
  4. จงเปรียบเทียบเทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology : IT ) และ ระบบสารสนเทศ ( Information Systems :IS )ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?
    เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology): IT หมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และวิทยาการต่างๆ เพื่อความสะดวกและเพิ่มความสามารถของคนในกระบวนการจัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการรวบรวมการจัดเก็บ การประมวลผลของข้อมูล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล การเก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์ เทคโนโลยีสารสนเทศยังรวมถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูลด้วย
    ระบบสารสนเทศ (Information System): IS หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่ายฐานข้อมูลผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง มีการใช้ชุดขององค์ประกอบที่ประกอบด้วยกลุ่มคน กระบวนการ และทรัพยากร (H/W, S/W, P/W) ที่ทำหน้าที่รวบรวม,การตรวจสอบข้อมูล,จัดเก็บข้อมูล,การวิเคราะห์ข้อมูล,การนำข้อมูลไปใช้หรือประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน,การตัดสินใจ,การวางแผน,การบริหาร,การควบคุม,การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กรนั้นๆ โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ

    ความเหมือนกันของ IS และ IT คือ วิธีกระบวณการจัดเก็บ รวบรวม การประมวลและแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ ยังเป็นการ
    นำเสนอสารสนเทศให้เป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถของคนในกระบวนการจัดการสารสนเทศและช่วยในการแก้ปัญหา
    รวมไปถึงเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ข้อมูล

    ความต่างกันของ IS และ IT คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ :IT จะเป็นการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี ความก้าวหน้ามาประยุกต์ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล ประมวลผลรวมไปถึงการเก็บรักษาและเผยแพร่ข้อมูล แต่ระบบสารสนเทศ :IS จะเป็นการใช้ระบบ กระบวนการการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลและนำมาเรียบเรียงทำให้เป็นสารสนเทศ
    โดยอาศัยบุคคลและคอมพิวเตอร์ในการดำเนินการ

    สรุปได้สั้นๆ ได้ว่า
    Technology คือ วิทยาการ ความก้าวหน้า
    System คือ ระบบ กระบวนการการจัดการ

    ตอบลบ
  5. ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด รวบรวม จัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ การวางแผน การบริหาร การควบคุม การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร (สุชาดา กีระนันทน์, 2541)
    ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input) การประมวลผล (Processing) และ การนำเสนอผลลัพธ์ (Output) ระบบสารสนเทศอาจจะมีการสะท้อนกลับ (Feedback) เพื่อการประเมินและปรับปรุงข้อมูลนำเข้า ระบบสารสนเทศอาจจะเป็นระบบที่ประมวลด้วยมือ(Manual) หรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ (Computer-based information system –CBIS) (Laudon & Laudon, 2001)
    แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม
    ระบบสารสนเทศ หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูล และประมวลผลเป็นสารสนเทศ และระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ต้องอาศัยฐานข้อมูล (CIS 105 -- Survey of Computer Information Systems, n.d.)
    ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดของกระบวนการ บุคคล และเครื่องมือ ที่จะเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ (FAO Corporate Document Repository, 1998) ระบบสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบมือหรือระบบอัตโนมัติ หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วย คน เครื่องจักรกล(machine) และวิธีการในการเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูล และเผยแพร่ข้อมูล ให้อยู่ในลักษณะของสารสนเทศของผู้ใช้ (Information system, 2005)
    สรุปได้ว่า ระบบสารสนเทศ ก็คือ ระบบของการจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่าง
    ยกตัวอย่าง การรับส่งอีเมล์ และทางโทรศัพท์ เป็นต้น
    เอกสารอ้างอิง
    สุชาดา กีระนันทน์. (2541). เทคโนโลยีสารสนเทศสถิติ: ข้อมูลในระบบสารสนเทศ. กรุงเทพฯ:
    โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

    4.ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด รวบรวม จัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ การวางแผน การบริหาร การควบคุม การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร (สุชาดา กีระนันทน์, 2541)
    ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input) การประมวลผล (Processing) และ การนำเสนอผลลัพธ์ (Output) ระบบสารสนเทศอาจจะมีการสะท้อนกลับ (Feedback) เพื่อการประเมินและปรับปรุงข้อมูลนำเข้า ระบบสารสนเทศอาจจะเป็นระบบที่ประมวลด้วยมือ(Manual) หรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ (Computer-based information system –CBIS) (Laudon & Laudon, 2001)
    แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม
    ระบบสารสนเทศ หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูล และประมวลผลเป็นสารสนเทศ และระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ต้องอาศัยฐานข้อมูล (CIS 105 -- Survey of Computer Information Systems, n.d.)
    ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดของกระบวนการ บุคคล และเครื่องมือ ที่จะเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ (FAO Corporate Document Repository, 1998) ระบบสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบมือหรือระบบอัตโนมัติ หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วย คน เครื่องจักรกล(machine) และวิธีการในการเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูล และเผยแพร่ข้อมูล ให้อยู่ในลักษณะของสารสนเทศของผู้ใช้ (Information system, 2005)
    สรุปได้ว่า ระบบสารสนเทศ ก็คือ ระบบของการจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่าง
    ยกตัวอย่าง การรับส่งอีเมล์ และทางโทรศัพท์ เป็นต้น
    เอกสารอ้างอิง
    สุชาดา กีระนันทน์. (2541). เทคโนโลยีสารสนเทศสถิติ: ข้อมูลในระบบสารสนเทศ. กรุงเทพฯ:
    โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

    ตอบลบ
  6. 5. การจำแนกประเภทของระบบสารสนเทศมีอยู่กี่แบบและแต่ละแบบประกอบด้วยระบบสารสนเทศชนิดใดบ้าง จงอธิบายมาอย่างละเอียด
    จำแนกระบบสารสนเทศตามการสนับสนุนระดับการทำงานในองค์กร จะแบ่งระบบสารสนเทศได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ (Laudon & Laudon, 2001)
    1. ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน (Operational – level systems) ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆขององค์กร เช่นใบเสร็จรับเงิน รายการขาย การควบคุมวัสดุของหน่วยงาน เป็นต้น วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยการดำเนินงานประจำแต่ละวัน และควบคุมรายการข้อมูลที่เกิดขึ้น
    2. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems) ระบบนี้สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำความรู้ใหม่มาใช้ และช่วยควบคุมการไหลเวียนของงานเอกสารขององค์กร
    3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management - level systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตรวจสอบ การควบคุม การตัดสินใจ และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร
    4. ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ (Strategic-level system) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยการบริหารระดับสูง ช่วยในการสนับสนุนการวางแผนระยะยาว หลักการของระบบคือต้องจัดความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับความสามารถภายในที่องค์กรมี เช่นในอีก
    5 ปีข้างหน้า องค์กรจะผลิตสินค้าใด
    ที่มา สุชาดา กีระนันทน์ (2541)และ Laudon & Laudon (2001)

    ตอบลบ
  7. แหล่งอ้างอิง
    สุชาดา กีระนันทน์. (2541). เทคโนโลยีสารสนเทศสถิติ: ข้อมูลในระบบสารสนเทศ. กรุงเทพฯ:
    โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

    CIS 105 -- Survey of Computer Information Systems. (n.d.). Essential Concepts and
    Terminology – Study Unit 13. Information system. Retrieved September 8, 2005
    from http://www.jqjacobs.net/edu/cis105/concepts/CIS105_concepts_13.html

    FAO Corporate Document Repository. (1998). Information system. Guidelines for the
    Routine Collection of Capture Fishery Data. Annex 5 Glossary. Retrieved September
    8, 2005 from http://www.fao.org/documents/show_cdr.asp?url_file=/
    DOCREP/003/X2465E/x2465e0h.htm

    Information system. (2005). Retrieved September 8, 2005 from
    http://en.wikipedia.org/wiki/Information_system

    Laudon, K.C. & Laudon, J. P. (2001). Essentials of management information systems:
    Organization and technology in the enterprise. 4th ed. Upper Saddle River, NJ:
    Prentice Hall.
    ขอบคุณแหล่งที่มา : http://cola.kku.ac.th/main/article/725/725_005.doc

    ตอบลบ